"วัคซีน" คือเชื้อโรคตามธรรมชาติที่ได้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ทำให้เชื้อโรคอ่อนกำลังลงหรือขบวนการฆ่าทำให้เชื้อโรคตาย เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายสัตว์แล้ว
จะไม่ทำให้เกิดโรคเหมือนเชื้อโรคตามธรรมชาติแต่จะไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มก
ันในร่างกาย
ทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา (เรียนรู้ลักษณะของเชื้อโรคและจดจำเชื้อโรค)
เมื่อมีการติดเชื้อโรคตามธรรมชาติขึ้นมาร่างกายซึ่งมีภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว จะได้ต่อสู้กับเชื้อโรคตามธรรมชาติและไม่เกิดกระบวนการติดเชื้อขึ้นมา
วัคซีน เป็นหนึ่งในวิทยาการทางการแพทย์ที่มีประโยชน์สูงสุด เนื่องจากมีการใช้อย่างแพร่หลาย
ทั้งในมนุษย์และสัตว์ โดยที่โรคที่พิจารณานำมาผลิตวัคซีนในสุนัขนั้น มักจะเป็นโรคติดเชื้อไวรัส
ที่รักษาไม่หาย เป็นการติดเชื้อรุนแรง มีโอกาสที่สุนัขจะเสียชีวตสูงจากโรคนั้น ๆ
และเป็นโรคสัตว์ติดคนที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น วัคซีนพิษสุนัขบ้า
ซึ่งในปัจจุบันมีการออกกฎหมายให้ผู้ที่เลี้ยงสุนัขทุกคน ต้องพาสุนัขของตนไปทำวัคซีน หากไม่ทำจะมีความผิดทางกฎหมาย
การทำวัคซีนนั้น ควรทำในสุนัขที่มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง เพื่อที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงที่สุด
และมีประสิทธิภาพที่จะต่อต้านเชื้อโรคมากที่สุด และภายหลังจากทำวัคซีนต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
ร่างกายจึงสร้างภูมิคุ้มกันโรค หากมีการติดเชื้อก่อนที่ระดับภูมิคุ้มกันจะสูงพอป้องกันโรคได้ สุนัขตัวที่ทำวัคซีนก็จะเกิดโรคได้เหมือนกัน
นอกจากนี้สุนัขควรได้รับการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจทุกเดือน ถ่ายพยาธิในลำไส้ทุก ๆ 3-6 เดือน
โดยขึ้นอยู่กับลักษณะการเลี้ยงและความเสี่ยงต่อการเกิดโรค และทุก ๆ หนึ่งปีควรจะกระตุ้นวัคซีนรวม
และวัคซีนพิษสุนัขบ้าเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันจากการทำวัคซีนจะคุมโรคได้ประมาณ 1 ปี
หลังจากนั้นภูมิคุ้มกันจะลดระดับลงจนกระทั่งไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้
โรคไวรัสของสุนัขที่ควรรู้และการป้องกัน
1. โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies)
- เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เป็นได้ทุกฤดูกาล ติดต่อในสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม
และมนุษย์ ซึ่งเป็นโรคสัตว์ติดคนที่สำคัญ
- สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส
- อาการ แบบดุร้าย กัด ขากรรไกรแข็ง ลิ้นห้อย น้ำลายไหล
แบบเซื่องซึม หลบที่มืด กินไม่ได้
- การติดต่อ น้ำลาย บาดแผล
- การรักษา รักษาไม่หาย
- การป้องกัน วัคซีน อายุ 3 เดือน 6 เดือน และ กระตุ้นซ้ำทุกปี
2. โรคไข้หัดสุนัข (canine distemper)
- พบทุกช่วงอายุ โดยพบมากแรกเกิดจนถึง 3 เดือน รักษาไม่หาย
- สาเหตุ เชื้อไวรัส
- อาการ มีไข้ น้ำมูกเขียว ขี้ตาเขียว ตุ่มหนองใต้ท้อง ริมฝีปากสั่น ชักกระตุก
อัมพาต กดภูมิคุ้มกัน อาจมีอาการท้องเสีย สุนัขติดเชื้อรุนแรงจนเสียชีวิต
- การติดต่อ ทางการหายใจ สิ่งขับถ่าย (น้ำมูก ขี้ตา อุจจาระ ปัสสาวะ)
- การป้องกัน ทำวัคซีนที่อายุ 6-8 สัปดาห์ กระตุ้นซ้ำอีก 2 สัปดาห์ และฉีดซ้ำปีละครั้ง
3. โรคลำไส้อักเสบ (canine parvo virus)
- พบทุกช่วงอายุ พบมากและรุนแรงในช่วงอายุ 2-6 เดือน
- สาเหตุ เชื้อไวรัส
- อาการ อาเจียน มีไข้สูง ซึม เบื่ออาหาร ท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระเป็นน้ำ มูก ปนเลือด
มีกลิ่นเหม็นเฉพาะตัว สุนัขเสียชีวิตจากการขาดน้ำ สารอาหาร เลือด และเกลือแร่
- การติดต่อ การกินเชื้อที่ปนเปื้อนออกมาจากสุนัขป่วย
- การป้องกัน ทำวัคซีนอายุ 6-8 สัปดาห์ กระตุ้นซ้ำอีก 2 สัปดาห์ อายุ 4 เดือน และหลังจากนั้นฉีดปีละครั้ง
4. โรคหวัดและหลอดลมอักเสบติดต่อ
- สุนัขมักติดเชื้อโรคชนิดนี้ได้ง่าย โดยเฉพาะในฟาร์มที่เลี้ยงสุนัขแออัด
แม้ว่าโรคนี้จะไม่ทำอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ก็ทำให้สุนัขมีอาการไอเรื้อรังได้นับเดือน
- สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย
- อาการ ไอแห้ง ๆ เรื้อรัง หรือถ้าพบว่าไอแบบมีเสมหะอาการจะรุนแรงมากขึ้น
อาจเกิดภาวะหลอดลมอักเสบและหลอดลมตีบได้
- การติดต่อ สูดดมเชื้อโรคที่มากับอากาศ
- การป้องกัน การทำวัคซีนที่อายุ 5-6 สัปดาห์ และกระตุ้นซ้ำทุก ๆ 6 เดือน
By: ร.พ. สัตว์สุวรรณชาด
ความสำคัญของการทำวัคซีน
เมื่อไรจึงควรทำวัคซีนให้ลูกสุนัขของเรา
ส่วนใหญ่ของภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่นั้นจะผ่านมาทางนมน้ำเหลือง ลูกสุนัขจึงต้องได้รับนมน้ำเหลืองให้เร็วที่สุด
ซึ่งความสามารถในการย่อยและดูดซึมนมน้ำเหลืองของลูกสุนัข จะเกิดขึ้นสูงสุดใน 24 ชม. หลังจากนั้น 3 วัน
ลูกสุนัขจะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากนมน้ำเหลืองได้ ระดับของภูมิคุ้มกันที่ได้รับนั้นจะสามารถป้องกันโรคได้
ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลงจนไม่สามารถป้องกันโรคได้ โอกาสที่จะได้รับเชื้อจนป่วย
และตายจึงเกิดขึ้นได้ ลูกสุนัขจึงต้องมีการทำวัคซีนเพื่อให้ระดับของภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูงพอที่จะป้อง
กันโรค
การทำวัคซีนในขณะที่ลูกสุนัขมีภูมิคุ้มกันจากแม่สูงจะเกิดการหักล้างกันของวัคซีนกับ
ภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ ทำให้วัคซีนที่ได้รับไม่เกิดผล
ดังนั้นช่วงอายุของลูกสุนัข ที่เหมาะสมทำวัคซีนคือช่วงที่ระดับของภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ไม่มีผลต่อวัคซีน
แต่ในทางปฏิบัตินั้นทำได้ยาก เนื่องจากระดับของภูมิคุ้มกันที่ได้รับเริ่มแรกไม่เท่ากัน ยกเว้นการทำวัคซีนนั้น
เป็นการทำวัคซีนเฉพาะที่เช่น การหยอดจมูกหรือเป็นการทำวัคซีนชนิดที่จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง
พอทีจะสามารถผ่านระดับภูมิคุ้มกันจากแม่ไปกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันที่ตัวลูกได้
ทำไมสุนัขเรา….จึงต้องทำวัคซีน
โรคติดต่อที่ร้ายแรง ซึ่งคร่าชีวิตสุนัขของท่านให้จากไปก่อนเวลาอันสมควร การแพร่กระจายของโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
โรคเหล่านี้เมื่อเป็นแล้วโอกาสที่จะรักษาให้หายนั้นเป็นไปได้ยาก ส่วนใหญ่สุนัขที่ป่วยมักจะตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อ
บางชนิดสามารถติดต่อถึงคนได้ การศึกษาเรื่องโรคและการป้องกันจึงมีความจำเป็นเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันชีวิต
ของสุนัขของท่าน การทำวัคซีนจึงเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาให้กับสุนัขของท่าน
ทำไมทำวัคซีนแล้ว สุนัขยังคงป่วยและตายด้วยโรคที่ทำวัคซีน
การสร้างภูมิต้านทานเฉพาะโรคกับวัคซีนที่ได้รับนั้น ต้องอาศัยเวลาอย่างน้อยประมาณ 2 อาทิตย์ ดังนั้นลูกสุนัขที่ทำวัคซีนไม่ครบ
โปรแกรมควรระวังการติดเชื้อจากสุนัขโตหรือสุนัขตัวอื่นๆควรระลึกไว้เสมอว่า วัคซีนคือแนวทางป้องกันโรคติดเชื้อซึ่งเราสามารถ
มอบให้กับสุนัขได้ แต่การสร้างภูมิคุ้มกันโรคในสุนัขนั้น ยังมีปัจจัยอื่นเช่น ความแข็งแรงสมบูรณ์ของลูกสุนัข และส่งผลต่อ
การสร้างภูมิคุ้มกันที่ไม่เท่ากันในสุนัขแต่ละตัว ทั้งนี้การสรุปว่าสุนัขป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หัดสุนัข ลำไส้อักเสบนั้น
ต้องมีการพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันการติดเชื้อที่ถูกต้อง เนื่องจากอาการเจ็บป่วยในลูกสุนัขนั้น มีอาการใกล้เคียงกัน
และอาจทำให้เกิดการเข้าใจผิดได้
ข้อควรปฏิบัติหลังจากทำวัคซีน
- ควรงดอาบน้ำอย่างน้อย 1 อาทิตย์
- ให้สุนัขได้พักผ่อนและกินอาหารที่ดีมีคุณภาพ
- ถ้าพบเห็นอาการผิดปกติใดๆ หลังจากทำวัคซีนควรปรึกษาสัตวแพทย์
โปรแกรมวัคซีนในสุนัข
ข้อมูลจาก รพส. สุวรรณชาด
การทำวัคซีน ควรทำในสุนัขที่มีร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรง เพื่อที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงสุด และมีประสิทธิภาพที่จะต่อต้านเชื้อโรคมากที่สุด และภายหลังจากการทำวัคซีนต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ร่างกายจึงจะสร้างภูมิคุ้มกันโรค หากมีการติดเชื้อก่อนที่ระดับภูมิคุ้มกันจะสูงพอป้องกันโรคได้ สุนัขตัวที่ทำวัคซีนก็จะเกิดโรคได้เหมือนกัน
อายุ 4-6 สัปดาห์ ถ่ายพยาธิ และตรวจสุขภาพ
อายุ 5-6 สัปดาห์ วัคซีน หวัด, หลอดลมอักเสบติดต่อ, ไข้หัด, ลำไส้อักเสบ และถ่ายพยาธิ
อายุ 8 สัปดาห์ วัคซีนรวม 5 โรค (ไข้หัด, ลำไส้อักเสบ, ตับอักเสบ, เลปโตสไปโรซิส, หวัด, หลอดลมอักเสบติดต่อ) ครั้งที่ 1 และถ่ายพยาธิ ตรวจสุขภาพ
อายุ 10 สัปดาห์ วัคซีนรวม 5 โรค ครั้งที่ 2 และถ่ายพยาธิ ตรวจสุขภาพ
อายุ 12 สัปดาห์ วัคซีนพิษสุนัขบ้า ครั้งที่ 1 ถ่ายพยาธิ พยาธิหนอนหัวใจ และตรวจสุขภาพ
อายุ 16 สัปดาห์ วัคซีนลำไส้อักเสบ (กรณีที่มีความเสี่ยง) ถ่ายพยาธิ พยาธิหนอนหัวใจ
อายุ 24 สัปดาห์ วัคซีนพิษสุนัขบ้า ครั้งที่ 2 ถ่ายพยาธิ พยาธิหนอนหัวใจ
นอกจากนี้ สุนัขควรได้รับการป้องกันพยาธิหนอนหัวใจทุกๆ เดือน
ถ่ายพยาธิในลำไส้ทุก 3-6 เดือน
กระตุ้นวัคซีนรวม และวัคซีนพิษสุนัขบ้า ปีละครั้ง
การคุมกำเนิด ทำหมันเมื่อสุนัขอายุ 8 เดือน – 1 ปี ขึ้นไป
การตัดนิ้วติ่ง เมื่ออายุ 3 วัน – 1 สัปดาห์
หมายเหตุ โปรแกรมวัคซีน อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
www.dogthailand.net
|
|