ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ค้นหา

โรคตาในสัตว์เลี้ยง

[คัดลอกลิงก์]
เสื้อหมา เสื้อแมว รถเข็นหมา รถเข็นแมว

raiwan_glass_0_out.jpg




โรคตาในสัตว์เลี้ยง


โรคตาในสัตว์เลี้ยงสูงอายุ: ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวไกลในปัจจุบัน ทำให้มนุษย์มีการดำรงชีวิตอย่างสุขสบาย
มีอายุยืนยาวโดยเฉลี่ยมากขึ้น พลอยทำให้ สัตว์เลี้ยงที่อยู่เป็นเพื่อนมนุษย์มีอายุยืนนานตามไปด้วย
การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่างๆ เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอายุมากขึ้นก็เกิดได้เช่นเดียวกันกับมนุษย์
แต่สังขารย่อมร่วงโรยไป มี เกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นธรรมดา เมื่อมีอายุมากขึ้น อวัยวะต่างๆย่อมมีการเสื่อมสภาพลงไปตามกาลเวลา

การเปลี่ยนแปลงของตา เป็นอวัยวะอย่างหนึ่งที่เจ้าของสัตว์เลี้ยงต้องให้ความสำคัญ
บางครั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีผลกระทบกับการมองเห็นของสัตว์เพียงเล็กน้อย
อาการนี้อาจพบได้เป็นปกติในสุนัขหรือแมวสูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป
เจ้าของสัตว์เลี้ยงควรจะนำสัตว์เลี้ยงที่สูงอายุไปพบสัตวแพทย์ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
เพื่อตรวจว่าอาการที่พบ นั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัย
หรือเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นอันตรายในสัตว์สูงอายุ

479fcf85f526e751bde314753e73bc35.jpg
1.การเสื่อมของม่านตา(Iris atrophy) พบได้เป็นปกติในสุนัขสูงอายุ
และเป็นสาเหตุของการไม่ตอบสนองต่อแสง ของม่านตา หรือบางรายจะมีการตอบสนองที่ช้ากว่าปกติ
เราจะสังเกตได้ว่าขอบของม่านตาจะไม่เรียบ เส้นของม่านตา อาจจะหดแยก
เป็นส่วนๆ บางครั้งการเสื่อมของม่านตา อาจทำให้เกิดเป็นรูขนาดใหญ่ภายในม่านตาหลายรู
แต่การ เปลี่ยนแปลงที่ เกิดขึ้นนี้จะไม่มีผลกับการมองเห็น


2.เลนส์ตาขุ่นตามอายุ (Lenticular nuclear sclerosis) จะเริ่มพบได้ในสุนัขอายุ 6 ปีขึ้นไป
โดยปกติเลนส์ตาจะมีลักษณะใส เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ศูนย์กลางของเลนส์จะเพิ่มความหนาแน่นมากขึ้น
เมื่อขยายม่านตาจะพบว่า ศูนย์กลางของเลนส์จะมีลักษณะ เทาหรือคล้ายมุก
ขอบเรียบและจะมีขอบเขตแยกจากส่วนขอบที่ใสๆ ของเลนส์ตา การเปลี่ยนแปลงที่เกิด
ขึ้นนี้จะมีผลต่อการมองเห็นเพียงเล็กน้อย โดยจะมีผลต่อการโฟกัสระยะใกล้ หรือสายตายาวเหมือนคนแก่ นั่นเอง
และการมองเห็นในที่แสงสลัวๆจะแย่ลง จึงอาจมีผลกับกิจกรรมบางอย่างของสุนัขที่ต้องโฟกัสระยะ ใกล้ๆ
เช่น การขึ้นลงบันได การก้มลงกินอาหารที่เจ้าของนำมาให้ ดังนั้นเจ้าของควรสังเกตว่าสุนัขมีความ
สามารถในการทำกิจกรรมดังกล่าวลดลงหรือไม่

5ec5c60c38ed8a3e20ec455203e39ccf.jpg

การเปลี่ยนแปลงของตาที่เกิดขึ้นตามวัยในสัตว์เลี้ยงสูงอายุ ที่พบโดยทั่วไปมีดังนี้

3.เนื้องอกที่ตา (Orbital neoplasia) เนื้องอกที่ตาส่วนมากถึง 90% จะเป็นมะเร็งชนิดร้ายแรง สุนัขที่ตรวจพบมะเร็งที่ตาส่วนมากจะมีชีวิตอยู่ต่อ ได้ประมาณ 3 ปี อาการที่พบได้แก่
ลูกตาจะค่อยๆบวมขึ้นโดยไม่แสดงอาการเจ็บปวด การโผล่ ของหนังตาชั้นที่สาม
การผิดรูปร่างและรูปทรงของตา อายุที่ตรวจพบเนื้องอกโดยเฉลี่ยประมาณ 8 ปี
เมื่อพบอาการผิดปกติดังกล่าวคงต้องพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย
โดยจะต้องผ่านการตรวจตาเบื้องต้น จากนั้นอาจต้อง เอกซ์เรย์ อัลตร้าซาวด์ และในปัจจุบันวิธีการ
ที่แม่นยำที่สุดในการวินิจฉัยก็จะเป็น เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ ทั้ง CT scan และ MRI การรักษาที่ทำได้
ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้องอกและการลุกลามของโรค ส่วนมากจะเป็นวิธีการผ่าตัดโดยการผ่าตัดออกทั้ง ลูกตา (Enucleation)


4.เนื้องอกของหนังตา (eyelid tumours) ส่วนมากจะเป็นชนิดที่ไม่ร้ายแรง 50% ที่
พบจะเป็นเนื้องอกบริเวณขอบของหนังตา ซึ่งเป็นเนื้องอกที่บริเวณ ต่อมน้ำตาชนิดไมโบเมี่ยน(Meibomian gland)
เนื้องอกชนิดนี้จะตอบสนอง ต่อการรักษาค่อนข้างดี วิธีการ ที่ทำ ได้แก่ การผ่าตัดออก หรือการจี้ด้วยความเย็น (cryosurgery)
ซึ่งภายหลังการผ่าตัดอาจมีผล ต่อรูปร่างของตาบ้างเล็กน้อย ส่วนการจี้ด้วยความเย็นจะมีผลข้างเคียงคือสีของขนและ
หนังตาบริเวณที่จี้จะ กลาย เป็นสีขาว(hypopigment)ได้


5การเกิดแผลที่กระจกตาชนิดเรื้อรัง (Indolent corneal ulcer หรือ Recurrent epithelial erosion)
มักจะพบในสุนัขอายุ 5 ปีขึ้นไป ในสุนัขพันธุ์ บ็อกเซอร์ จะพบได้บ่อย สาเหตุที่เกิดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด
ลักษณะแผลที่กระจกตาจะมีการลอกหลุดของเยื่อของกระจกตาชั้นบนสุด (epithelium)
แผลที่กระจกตาชนิดนี้เป็นความผิดปกติของขบวนการซ่อมแซมของกระจกตา
เนื่องจากการไม่สามารถยึดเกาะกันระหว่างชั้นนอกสุดของกระจกตากับเยื่อด้านใน
ที่อยู่ใต้ลงไป ทำให้มีการลอกหลุดได้ง่าย การรักษาด้วยยาหยอดตากับแผลที่กระจกตาชนิดนี้จะไม่ค่อยได้ผล
และจะใช้เวลานาน การรักษาด้วยการ ผ่าตัดโดยใช้ วิธีทำความสะอาด ล้างเอาเซลล์ที่ตายทิ้ง
แล้วกรีดให้กระจกตาเป็นร่องเล็กๆด้วยปลายเข็มเล็กๆ (Debridgement และ Grid keratectomy)
สุดท้ายจะเย็บปิดหนังตาชั้นที่สามไว้ร่วมด้วย จะทำให้แผลหายเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์


6กระจกตาเสื่อม ( Corneal degeneration/ Dystrophy) สาเหตุของกระจกตาเสื่อมเป็นได้หลายสาเหตุ
อาจเกิดจากการมีประวัติการมีวิการแผลหลุมที่กระจกตา หรือโรคตาอื่นๆ โรคตาแห้ง ในสุนัขพันธ์ที่มีลูกตาเปิดกว้าง
ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย โรคภายในร่างกายบางโรคก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดการเสื่อมของกระจกตาได้เช่นกัน
เช่น ในภาวะไขมันในเลือดสูง โรคของต่อมไทรอยด์ชนิดที่ฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ(Hypothyroidism)และโรคของต่อมหมวกไตที่ม
ีการผลิตฮอร์โมนมากผิดปกติ(Cushing) รอยโรคที่พบจะมีลักษณะสีขาวทึบหรือขาวเทา บางครั้งจะมีสีออกเหลือง พบที่ตาข้าง ใดข้างหนึ่งบางครั้งจะพบว่ามีเส้นเลือดมาเลี้ยงบนกระจกตาร่วมด้วย ในสุนัขบางพันธุ์ เช่น พันธุ์ Beagle , Siberian Husky จะมีภาวะกระจกตาเสื่อมเกิดขึ้นได้ง่ายกว่า พันธุ์อื่นๆ วิธีการที่พอจะแยกว่ากระจกตาเสื่อมใดเกิดจากโรคตาหรือเกิดจากพันธุ์กรรม คือ ถ้าเกิดจาก พันธุ์กรรมส่วนมากจะเกิดที่กระจกตาทั้งสองข้าง โดยปกติกระจกตาเสื่อมนี้ ถ้าไม่รุนแรงมากจะไม่มี ผลกระทบกับการมองเห็นของสัตว์ การรักษาจะต้องให้สัตวแพทย์ตรวจเพื่อแยกแยะว่าเป็นภาวะกระจกตา เสื่อมประเภทใด ในรายที่ไม่รุนแรงมากหรือในรายที่ต้องการชะลอไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้น จะใช้ยา หยอดตาที่มีส่วนประกอบของ EDTA วันละ 2-3 ครั้ง แต่ทั้งนี้ต้องให้สัตวแพทย์ตรวจ ว่าการที่กระจก ฝ้ามัวไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น แผลที่กระจกตา กระจกตาบวมน้ำ เป็นต้น

7.ต้อกระจก(Cataract)


ต้อกระจกเป็นการขุ่นมัวของ เลนส์ตา ซึ่งเลนส์ตาปกติจะมีลักษณะใสและสามารถ มองทะลุผ่านได้ เมื่อเกิดต้อขึ้นเลนส์ตาจะเริ่มขุ่นมัว ต้อกระจกไม่ใช่การขุ่นของส่วนชั้นนอกของกระจกตา แต่เกิดภายในเลนส์ตา เป็นการตกตะกอนของโปรตีนภายใน สามารถเกิดขึ้นเป็นเฉพาะส่วนเล็กๆ หรือกระจายทั่วทั้งเลนส์ตา การเกิดต้อกระจกบางส่วนสัตว์ยังพอมองเห็นได้บ้าง แต่จะมีผลกระทบต่อการมองเห็นเมื่อมีการขุ่นมัวทั้งหมดของเลนส์ตา สาเหตุของต้อกระจกยังไมเป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จะพบในรายที่เป็น โรคเบาหวาน พบในสุนัขพันธ์แท้บางพันธุ์ เช่น Cocker, Poodle, Maltese, Boston terrier และ Gloden retriever จะพบได้มากกว่าพันธุ์อื่นๆ นอกจากนี้ในสุนัขที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อม (progressive retinal atrophy) จะมีการเกิดต้อกระจกร่วมด้วยเสมอ จะพบมากในพันธุ์ Labrador retriever และ Poodle เป็นต้น

การรักษาต้อกระจก
   โดยวิธีการทางยาหยอดตานั้นยังไม่มียาชนิดใดที่ชะลอหรือรักษาให้หายขาดได้ การรักษาที่เป็นวิธีที่ดีและได้ผลที่สุดในปัจจุบันคือ การผ่าตัดด้วยวิธี Phacoemulsification ซึ่งเป็น การสลาย เลนส์ตาด้วยคลื่นอัลตร้าซาวด์ และดูดชิ้นเศษส่วนของเลนส์เล็กๆ ออกทางรอยแผลเล็กๆ ที่กรีดบนกระจกตาก่อนการผ่าตัดเพื่อรักษาสัตว์ป่วยด้วยต้อกระจกนั้น จะต้องมีการคัดเลือก และตรวจตัวสัตว์ ก่อนว่ามีปัจจัยเสี่ยงใดๆ ที่จะมีผลต่อการประสบความสำเร็จของการผ่าตัดหรือไม่ อันได้แก่ สุนัขต้องมี สุขภาพดี ต้องมีการตรวจค่าเคมีในเลือด และความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และสัตว์ป่วยต้องไม่มีภาวะป่วยด้วยโรคอื่นๆของตา เช่น การอักเสบของตา, โรคตาแห้ง และโรคต้อหิน เป็นต้น และที่สำคัญ การทำงาน ของจอประสาทตาต้องปกติ
สัตวแพทย์ต้องตรวจสุนัขของท่านอย่างละเอียด ก่อนที่จะมีการตัดสินใจการผ่าตัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน รายที่มีภาวะต้อกระจกตา ที่มีสาเหตุเกิดจากโรคจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งจะทำให้สัตว์ตาบอด และการผ่าตัดสลายต้อกระจก ก็ไม่ได้ช่วยให้สัตว์กลับมามองเห็นได้ ในกรณีที่สงสัยว่าสัตว์มีความเสี่ยง จะต้องมีการตรวจคลื่นไฟฟ้าของการทำงานของประสาทตาด้วย นอกจากนี้การดูแลและการเอาใจใส่สัตว์เลี้ยง ของเจ้าของสัตว์ก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาด้วยเช่นกันว่า เจ้าของสามารถดูแลสัตว์หลังการผ่าตัดได้ดีหรือไม่ ถ้ามีการปล่อยสัตว์เลี้ยงทิ้งขว้าง ไม่ดูแลเอาใจใส่ การผ่าตัดอาจจะทำให้คุณภาพชีวิต ของสัตว์เลี้ยงนั้นแย่ลงได้

1da53fde8927755cec828491fcdc061e.jpg

การอักเสบของตา ที่เกิดจากต้อกระจก (Len- induce uveitis)

8.การอักเสบของตา ที่เกิดจากต้อกระจก (Len- induce uveitis)
พบในสุนัขสูงอายุที่เป็นโรคต้อกระจก เป็นเวลานานจะมีการอักเสบของตา เนื่องจากโปรตีนของเลนส์ตา ที่สลายและเล็ดลอดออกมากระตุ้นให้เกิดการอักเสบ ซึ่งมักจะพบมากในกรณีที่เป็นต้อกระจกที่ขุ่นมัวทั่วทั้ง เลนส์ตา จะมีลักษณะตาแดง เลนส์ตาขุ่นขาว น้ำในช่องหน้าตาขุ่นมัว ในรายที่รุนแรงอาจทำให้เกิดโรคต้อหิน แทรกซ้อนได้ เมื่อสังเกตว่าสุนัขของท่านมีอายุมากแล้ว มีต้อกระจกมาเป็นเวลานาน เริ่มมีอาการตาแดง ขี้ตาแฉะๆ มีอาการเจ็บตา เช่น กระพริบตาบ่อยๆ ต้องรีบพาไปพบสัตวแพทย์ เพื่อรักษาภาวการณ์อักเสบ ของตาและที่สำคัญ คือการป้องกันโรคต้อหินแทรกซ้อน


9.เลนส์ตาเคลื่อน (Lens luxation)

เป็นภาวะที่เลนส์ตาเคลื่อนจากตำแหน่งปกติ มักจะเกิดขึ้นในสุนัขสูงอายุ ซึ่งเป็นสาเหตุมาจาก ความไม ่แข็งแรงของเอ็นที่ยึดเลนส์ตา หรือเกิดจากกการป่วยเรื้อรังจากโรคอื่นๆ เช่น ต้อกระจก ต้อหินเป็นต้น สาเหตุที่พบบ่อยอีกอย่างหนึ่งคือ อุบัติเหตุ เช่น การถูกกระแทกอย่างรุนแรง สุนัขพันธุ์ที่มีโอกาสเกิดโรค นี้ได้ง่าย ได้แก่ พันธุ์ Poodle และ Terrier
อาการที่พบ ในบางรายถ้ามองไปในลูกตาจะเห็นได้ชัดว่า มีการเคลื่อนหรืออยู่ผิดตำแหน่งของเลนส์ตา ใน บางรายถ้าเลนส์ตาเลื่อนมาทางด้านหน้า มาสัมผัสกับกระจกตา จะทำให้เกิดการอักเสบบริเวณนั้น จะพบ ลักษณะเป็นผ้าขาวหรือเกิดการบวมน้ำที่กระจกตา

การรักษา มีข้อควรระวังเป็นอย่างมากในกรณีที่เกิดเลนส์ตาเคลื่อน คือการเกิดโรคต้อหินแทรกซ้อนดังนั้น จะต้องมีการวัดความดันลูกตา ในกรณีที่มีความดันลูกตาสูงต้องให้ยาลดความดันลูกตาก่อนที่จะมีการผ่าตัด เพื่อเอาเลนส์ตาที่เคลื่อนออก ในกรณีที่ตาบอดแล้ววิธีที่ดีที่สุดคือการผ่าตัดเอาลูกตาออก หรือการใส่ลูกตาเทียม เพื่อความสวยงามไม่ดูน่าเกลียด

10.เลือดออกในตา (Hyphema)

เลือดออกในตามีสาเหตุมากมาย เช่น เนื้องอกในตา การลอกหลุดของจอประสาทตา โรความดันโลหิตสูง (Hypertension) อาการที่พบจะมีเลือดออกในลูกตาลักษณะเป็นน้ำเลือดไม่มีการแข็งตัว การรักษาทำได้ โดยการรักษาตามอาการและสาเหตุของโรคที่พบ ซึ่งอาจจะต้องวินิจฉัยด้วยเครื่องมือพิเศษตรวจดูสภาพภายในลูกตา เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เช่น อัลตราซาวด์ CT scan หรือ MRI เป็นต้น


11.การลอกหลุดของจอประสาทตา (Retinal detachments)
มักจะเกิดในสุนัขหรือแมวสูงอายุ ในแมว อาการที่พบจะมีม่านตาขยายกว้างไม่ตอบสนองต่อแสง อาจมีเลือด ออกในช่วงหน้าตา มักจะเกิดในรายที่มีความดันเลือดสูง (Hypertension) ซึ่งมักจะมีผลมาจากโรคของ ร่างกายอย่างอื่น ที่พบมากได้แก่ โรคไตวายเรื้อรัง และโรคของต่อมไทรอยด์ ในสุนัขสาเหตุและอาการ ก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกับในแมว แต่ในสุนัขสาเหตุอื่นที่พบบ่อยในบ้านเราได้แก่การติดเชื้อพยาธิในเม็ด เลือด ชนิด E. canis ซึ่งมีผลทำให้เกิดจุดเลือดออกในจอประสาทตา และมีการลอกหลุดของจอประสาทตา ตามมาด้วยการรักษาทำได้โดยการรักษาตามสาเหตุ ให้ยาลดความดันเลือด ถ้าอาการของโรครุนแรงมาก สุนัขจะตาบอดและการรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆนี้จะไม่สามารถทำให้ตาสัตว์สามารถกลับมามองเห็นได้ ตาจะบอดไปตลอด


12.การเสื่อมของจอประสาทตา PRA (Progressive Retinal Atrophy)
เป็นโรคที่มีการถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม สุนัขพันธุ์ที่พบมากได้แก่ พัน Poodle, Labrador Retriever และ Irish setter อาการจะเริ่มพบมากเมื่อสัตว์อายุมากขึ้น ตั้งแต่ 4-6 ปีขึ้นไป อาการที่พบคือ สุนัขจะมี อาการตาบอดแบบค่อยเป็นค่อยไป คือจะเริ่มมองไม่เห็นในตอนค่ำที่แสงสลัวๆ และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จน กระทั่งมองไม่เห็นเลยในตอนกลางวัน การตรวจทางจักษุวิทยาจะต้องใช้เครื่องมือตรวจจอประสาทตา จะพบ ว่าภายในจอประสาทตามีการเสื่อมลง โดยมีเส้นเลือดขนาดเล็กลง มีการสะท้อนของแสงจากจอประสาทตา มากผิดปกติ เนื่องจากชั้นตาจอประสาทตาบางลง ม่านตาสุนัขจะขยายตลอดเวลา ณ.ปัจจุบันนี้ไม่มีวิธีการ ใดในการรักษาให้หายหรือชะลออาการของโรคได้ ดังได้กล่าวข้างต้นแล้วว่าโรคนี้ติดต่อทางพันธุ์กรรม ดังนั้น วิธีการที่ดีที่สุดคือการป้องกันโดยการไม่ผสมพันธุ์ในสุนัขที่มีโรคนี้อยู่ โดยการตรวจตาในสุนัขพันธุ์ที่มี ความเสี่ยงดังได้กล่าวมาแล้ว ว่าเริ่มมีอาการของโรคหรือยัง โดยสามารถตรวจได้ตั้งแต่ อายุ 4-6 เดือน ในต่างประเทศได้ให้ความสำคัญกับโรคนี้มาก เริ่มมีการใช้ Test kit มาตรวจเพื่อป้องกันการเกิดโรค ในรุ่นลูกหลานในฟาร์มสุนัขแล้ว ในเมืองไทยเราควรจะให้ความสำคัญกับโรคนี้บ้าง โดยอย่างน้อยก็พาสุนัขไปตรวจตาก่อนที่จะมีการทำเป็นพ่อแม่พันธุ์

บทความทางวิชาการ : โรคตาในสัตว์เลี้ยงสูงอายุ (Eye Disease)

f6c88c67c60.jpg

คลินิกโรคตาขอนำเสนอ โรคตาที่มักจะพบในสุนัขพันธุ์ต่างๆ ที่อาจพบได้กับสุนัขของคุณคุณ

1. ต้อกระจกที่เป็นมาโดยกำเนิด (Congenital cataract)
พบได้ในพันธุ์อิงลิช ค็อกเกอร์ สเปเนียล เยอรมันเชพเพิร์ด หรือรู้จักกันในนามอัลเซเชียน ร็อตไวเลอร์ พูเดิล เทอร์เรีย

2. ต้อหิน (Glaucoma)
ตัวอย่างที่พบ พันธุ์อากิตะ บัสเส็ต ฮาวน์ คอลลี่ บูลเทอร์เรีย ดัลเมเชียน อิงลิช ค็อกเกอร์ สเปเนียล ไซบีเรียน ฮัสกี้

3. โรคตาแห้ง (Dry eye)
พบได้ในพันธุ์ต่อไปนี้ อเมริกัน ค็อกเกอร์ สเปเนียล บูลด๊อก บูลเทอร์เรีย เชาเชา ดัชชุน มินิเจอร์ พูเดิล ชิสุห์

4. หนังตาม้วนเข้ามากเกินไป (Entropion)

พบได้ในพันธุ์ต่อไปนี้ อเมริกัน ค็อกเกอร์ สเปเนียล บ๊อกเซอร์ บูลเทอร์เรีย ชิวาวา เชาเชา ดัชชุน ดัลเมเชียน ดเบอร์แมนพินช์เชอร์ อิงลิช ค็อกเกอร์ สเปเนียล ฟ็อกซ์ เทอร์เรีย โกลเด้นรีทรีฟเวอร์ เกรตเดน ลาบราดอร์รีทรีฟเวอร์ มัสทิฟ พุดเดิล ชเนาเซอร์ นิวฟาวน์แลนด์ ปักกิ่ง ปอมเมอเรเนียน ร็อตไวเลอร์ เซนต์เบอร์นาร์ด ชาร์ไป่ย

5. หนังตาม้วนออกมากเกินไป (Ectopion)
พบในพันธุ์เดียวกับพันธุ์ที่หนังตาม้วนเข้ามากเกินไป


6. โรคจอตาลอกหลุด (Retinal detachment)

พบได้ในพันธุ์ อัฟกันฮาวน์ อเมริกัน ค็อกเกอร์ สเปเนียล อิงลิช ค็อกเกอร์ สเปเนียล บาเซนจิ เกรตเดน ร็อตไวเลอร์ ชิสุห์ ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงโรคตา 6 ชนิดที่มีลักษณะโดดเด่น และพบได้บ่อยๆ ค่ะ กลับบ้านลองสังเกตเจ้าตูบของคุณว่ามีอาการที่เล่ามาหรือไม่?


ล้อมกรอบเรื่อง(ตา)หมาๆ
โครงสร้างตาหมา
ตาหมาก็เหมือนตาคน เริ่มกันจากด้านนอกไปสู่ด้านใน กระจกตาจะใสเหมือนแก้ว ไม่ใช่สีดำหรือที่เรียกว่าตาดำอย่างที่เห็น สีดำที่เห็นคือม่านตาดำ บริเวณกระจกตาจะพบรอยแผลมากสุด ถัดจากกระจกตาเข้ามาก็จะเป็นม่านตาสีดำ แล้วบริเวณในสุด คือ แก้วตา



อาการของโรคตาหมา
สังเกตได้จากเริ่มตาแดง ตาฝ้า บางครั้งจะมีน้ำตาเอ่อ มีขี้ตามากผิดปกติ ชอบเกาตาหรือไถตากับพื้นหรือฝาผนัง ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดสุด คือ การเดินชนของ เดินขึ้นบันไดลงบันไดไม่ค่อยถนัด หาชามข้าวไม่พบ เป็นต้น


ที่มาของข้อมูล มีทติ้งด๊อก


loading...
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต


โทรศัพท์มือถือ|รายชื่อผู้ถูกระงับบัญชี|dogthailand.net

แนะนำที่พัก โรงแรม รีสอร์ท สัตว์เลี้ยงเข้าพักได้ ทั่วประเทศ

GMT+7, 2024-12-22 10:24 , Processed in 0.080502 second(s), 21 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้