ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ค้นหา

วิธีช่วยเหลือ ปฐมพยาบาล สุนัขที่ประสบอุบัติเหตุจากการถูกรถชน ถูกวิธีและปลอดภัย

[คัดลอกลิงก์]
เสื้อหมา เสื้อแมว รถเข็นหมา รถเข็นแมว

d1471622aad4268eb48cc8ea1598d89e.jpg

ในระหว่างการเดินทาง บางครั้งบางคราวก็อาจเกิดอุบัติเหตุที่เราไม่คาดฝันมาก่อนได้ ซึ่งความรุนแรงจะมากจะน้อยนั้น ก็ขึ้นกับความเสียหายและความบาดเจ็บที่ได้รับ อย่างไรก็ดีผู้ป่วยทุกรายก็ควรที่จะได้รับการดูแลเบื้องต้นก่อน การปฐมพยาบาลจึงมีความสำคัญมาก เพราะบางครั้งก็สามารถใช้ช่วยรักษาชีวิตได้เลยทีเดียว

     เพื่อน ๆ ที่เดินทางตามท้องถนน บางคนอาจจะเคยพบเห็นสุนัขที่ประสบอุบัติเหตุจากการถูกรถชน บางคนอยากที่เข้าช่วย แต่ก็ไม่รู้ว่าจะช่วยน้องหมาอย่างไรให้ถูกต้องและปลอดภัย ปลอดภัยในที่นี้คือรวมทั้งสุนัขและคนที่เข้าไปช่วยเหลือด้วย วันนี้ มุมหมอหมา ที่วิธีมาแนะนำ


190865.jpg


1 ประเมินสถานการณ์และสภาพสัตว์ป่วย


     ในการเข้าให้การช่วยเหลือน้องหมาทุกครั้ง จำไว้เสมอว่า “เราต้องปลอดภัยไว้ก่อน” ไม่ควรเร่งรีบให้ความช่วยเหลือ ถ้าตัวเรายังอยู่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุซ้ำสอง หากเป็นถนนที่มียวดยานใช้ความเร็วสูงหรืออยู่ในที่มืด ต้องส่งสัญญาณให้ผู้ขับขี่คนอื่น  ๆ ทราบเสียก่อน โดยให้สัญญาณจากบริเวณทางเท้าหรือไหล่ทาง เมื่อประเมินสถานการณ์ดูแล้วว่า มีความปลอดภัยจึงสามารถเข้าไปช่วยน้องหมาได้

     ในการเข้าช่วยน้องหมา ก่อนอื่นให้ประเมินสภาพสัตว์ป่วยก่อน  โดยยืนอยู่ด้านหลังตัวสัตว์ ประเมินดูว่า เกิดอะไรขึ้นกับสุนัขบ้าง สุนัขเป็นอย่างไร ไม่ควรรีบเร่งลงมือช่วยเหลือในทันที เพราะสัตว์ที่ได้รับอุบัติเหตุมักจะตกใจกลัว เจ็บปวด อาจพยายามที่จะดิ้นรนเพื่อหลบหนี บางทีก็อาจแว้งมากัดเราได้ ถ้าสัตว์ยังหายใจได้ปกติ (ดูว่าช่องท้องมีการขยับขึ้น-ลง) ให้หาเชือกหรือแถบผ้ามามัดปากสุนัขไว้ก่อน ที่จะจับสุนัขหรือเข้าทำการควบคุม จากนั้นค่อย ๆ ย้ายน้องหมาเข้ามายังที่ปลอดภัยอย่างระมัดระวังขณะเดียวกันก็ควรติดต่อประสานงานกับคุณหมอเพื่อเล่าอาการที่พบและขอคำแนะนำในการปฐมพยาบาลน้องหมาเบื้องต้น


190866.jpg

2 ตรวจสอบสัญญาณชีพ

     การให้การปฐมพยาบาลเหตุฉุกเฉินทุกครั้ง ให้เริ่มจากการตรวจสอบสัญญาณชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะกับการหายใจ ชีพจร การเต้นของหัวใจ และสีเยื่อเมือก

     หากน้องหมาไม่หายใจ ให้เริ่มต้นช่วยหายใจ โดยใช้วิธีผายปอด mouth (คน) to nose (สุนัข) เพราะหากสัตว์ขาดออกซิเจนนานเกินกว่า 3-5 นาที จะเสียชีวิตได้ หรือกรณีหัวใจไม่เต้น เลือดก็จะไม่ถูกสูบฉีดไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์สมอง ถ้าหัวใจไม่เต้นนานเกินกว่า 3-5 นาที ก็จะทำให้สัตว์เสียชีวิตได้อีกเช่นกัน ถ้าหัวใจไม่เต้น ให้เราทำการปั๊มหัวใจ โดยจับน้องหมานอนตะแคงขวา คลำหาตำแหน่งของหัวใจซึ่งจะอยู่ตรงบริเวณที่ข้อศอกซ้ายแตะตรงทรวงอกซ้ายพอดี (ประมาณซี่โครงที่ 3-6) จากนั้นให้ทำการกดนวดหัวใจเป็นจังหวะสลับกับการผายปอด จนกว่าน้องหมาจะกลับมาหายใจและหัวใจเต้นได้เอง

แต่ถ้าภายใน 3-5 นาที น้องหมายังไม่มีสัญญาณชีพใด ๆ กลับมา เช่น หัวใจไม่เต้น ไม่หายใจ ไม่มีชีพจร ก็แสดงว่าน้องหมาอาจจะเสียชีวิตแล้ว สำหรับการประเมินว่าน้องหมาเสียชีวิตหรือเพียงแค่หมดสติ (unconscious) นั้น อาจจะยากสักหน่อยสำหรับคนทั่วไป เบื้องต้นลองตรวจสอบดูรูม่านตา (pupil) ถ้าน้องหมามีรูม่านตาขยายใหญ่ คงที่ ไม่ตอบสนองต่อแสง (corneal reflex) ไม่มีสัญญาณชีพ เยื่อเมือกซีดและแห้ง อาจแสดงว่าน้องหมาเสียชีวิตแล้ว ควรให้สัตวแพทย์เป็นผู้ประเมินอีกที


190869.jpg

3 ตรวจสอบภาวะเลือดออก

     หลังจากน้องหมาอยู่ในภาวะคงที่แล้ว ให้เราสำรวจดูว่ามีเลือดออกตรงไหนบ้าง ซึ่งถ้ามีเลือดออกมาภายนอกร่างกายจะสังเกตได้ง่าย ให้เราควบคุมการเสียเลือด เช่น ใช้นิ่วมือหรือผ้าสะอาดกดโดยตรง ใช้การพันรัดบนตำแหน่งแผล ใช้การพันขันชะเนาะด้วยสายรัดหรือผ้าแถบไม่เกิน 15 นาที แล้วคลายออกเป็นระยะ ๆ ฯลฯ เพราะถ้าปล่อยให้น้องหมาเสียเลือดมากเกินไปจะเกิดภาวะช๊อคได้ แต่สำหรับการรายที่มีเลือดออกภายใน จะสังเกตได้ยาก ให้ทำการช่วยโดยการหยุดการเคลื่อนไหวของอวัยวะ พันรัดจากภายนอก หรือทำการประคบน้ำแข็งให้


190868.jpg

4 ตรวจสอบการหักของกระดูก


     ตรวจสอบการหักของกระดูกในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายน้องหมา ถ้ามีจะพบว่าบริเวณที่หักจะบวม จับแล้วเจ็บ อาจได้ยินเสียงกระดูกขยับกรอบแกรบ (Crepitus sound) หรือมีลักษณะบิดงอผิดรูป บางรายอาจเห็นกระดูกที่หักแทงทะลุออกมานอกผิวหนัง ให้หาอุปกรณ์มาดามกระดูกเบื้องต้นไว้ก่อนเช่น ไม้กระดาน แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะ ผ้าหนา ๆ ม้วนกระดาษนิตยสารแข็ง ๆ ฯลฯ โดยเลือกให้เหมาะสมกับขนาดของอวัยวะ แล้วใช้ผ้าขนหนูหรือเสื้อห่อเฝือกเอาไว้ มัดเฝือกเข้ากับขาด้วยเสื้อ หรือใช้เทปหรือเชือกพันอีกรอบหนึ่งเพื่อให้ส่วนที่หักเคลื่อนไหวน้อยที่สุด ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายน้องหมาไปที่อื่นหรือนำส่งโรงพยาบาลต่อไป





5 เคลื่อนย้ายอย่างปลอดภัย

     สำหรับสัตว์ที่ได้รับบาดเจ็บ มีกระดูกหัก โดยเฉพาะในส่วนของกระดูกสันหลัง จะต้องให้ความสำคัญในการเคลื่อนย้ายเป็นพิเศษ หากเป็นน้องหมาที่มีขนาดเล็กควรนำใส่ในกล่อง ลัง หรือตะกร้า ถ้าเป็นน้องหมาที่มีขนาดใหญ่ควรจะวางตัวสัตว์ลงบนไม้กระดานแผ่นเรียบแล้วใช้คนช่วยกันยกขึ้นรถสุนัขที่ โดยให้ตำแหน่งหัวอยู่ตรงแนวเดียวกับร่างกาย อย่างอหรือเงยหัวมากเกินไป อาจหาสายรัดตัวไว้กับกระดานเพื่อป้องกันไม่ให้สุนัขดิ้นตก หากสุนัขอาเจียนให้คว่ำหน้าสุนัขลง ป้องกันการสำลักเข้าปอด

     ถ้าเป็นไปได้ให้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยที่มีความรู้ความชำนาญในการเคลื่อนย้าย เพื่อให้การขนย้ายเป็นไปด้วยความปลอดภัยและใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด รวมถึงติดต่อกับสถานพยาบาลสัตว์ที่จะพาน้องหมาไปหาล่วงหน้า เพื่อให้คุณหมอและเจ้าหน้าที่ได้เตรียมความพร้อมเอาไว้ก่อน

  สุนัขที่ประสบอุบัติเหตุถูกรถชน ส่วนใหญ่หากไม่เสียชีวิตก็มักจะพิการ ซึ่งการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องสามารถช่วยลดความสูญเสียดังกล่าวได้ไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ดี ในการเข้าให้การช่วยเหลือสุนัขนั้น ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตัวเราไว้ก่อนเสมอ อย่าประมาทเป็นอันขาด ผู้เข้าช่วยต้องมีสติอยู่เสมอ ไม่เช่นนั้นผู้โชคร้ายรายต่อไปก็อาจเป็นเราเสียเอง

ที่มา dogilike.com
190867.jpg
loading...
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต


โทรศัพท์มือถือ|รายชื่อผู้ถูกระงับบัญชี|dogthailand.net

แนะนำที่พัก โรงแรม รีสอร์ท สัตว์เลี้ยงเข้าพักได้ ทั่วประเทศ

GMT+7, 2024-12-22 12:45 , Processed in 0.076532 second(s), 21 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้