ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ค้นหา

โรคหัวใจ สุนัขสามารถป่วยเป็นโรคหัวใจได้ด้วยหรือ?

[คัดลอกลิงก์]
เสื้อหมา เสื้อแมว รถเข็นหมา รถเข็นแมว

หลาย ท่านเมื่อได้ยินคำถามนี้ก็คงคิดเช่นเดียวกัน ซึ่งคำตอบก็คือ สุนัขป่วยเป็นโรคหัวใจได้จริงๆ โรคหัวที่พบในสุนัขสามารถพบได้เช่นเดียวกับในคน คือสามารถพบได้ตั้งแต่เกิด หรือหลังเกิด แต่โดยทั่วไปมักพบว่าโรคหัวใจในสุนัขมีการพัฒนาขึ้นในช่วงกลางๆ ชีวิต โรคหัวใจของสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired heart disease) เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด สุนัขที่พบว่าเป็นโรคหัวใจมักเป็นสุนัขที่มีอายุมาก    


จากผลวิจัยล่าสุดเปิดเผยให้เห็นว่าเจ้าของสุนัขกว่า 50% ไม่เคยตระหนักว่าสุนัขของตนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ ทั้งที่มีสุนัขอายุ 7 ปีขึ้นไปมากถึงหนึ่งในสี่ที่เป็นโรคหัวใจ ดังนั้นเจ้าของสุนัขควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การสังเกตอาการของโรค และการดูแลสุนัขที่เป็นโรค เพื่อให้สุนัขมีชีวิตที่ยืนยาวต่อไป
"หัวใจ" ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในร่างกายของสัตว์เลี้ยงเนื่องจากหัวใจมีหน้าที่ในการสูบฉีดเลือด เพื่อนำอ็อกซิเจน และสารอาหารต่างๆ ผ่านทางหลอดเลือดไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ความผิดปกติที่เกิดกับหัวใจ ส่วนใหญ่มักจะทำให้เกิดการบีบตัวของหัวใจลดลง ซึ่งสามารถทำให้เกิดการสะสมของของเหลวในช่องอก และช่องท้อง
    


โรคหัวใจแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่
1. โรคลิ้นหัวใจเรื้อรัง โรคลิ้นหัวใจรั่วจะทำให้ประสิทธิภาพในการบีบตัวของหัวใจ เพื่อนำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง ซึ่งเป็นความผิดปกติของหัวใจที่พบได้บ่อยในสุนัข2. โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ อาการผิดปกตินี้จะเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจเกิดการหนาตัว หรือผนังห้องหัวใจบาง และอ่อนแอ มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการบีบตัวของหัวใจลดลง ซึ่งเป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยในแมวโรคหัวใจทั้งสองชนิดจะค่อยพัฒนาขึ้น โดยใช้ระยะเวลา แต่ผลในที่สุดก่อให้เกิดภาวะที่มีความรุนแรงต่อการทำงานของหัวใจที่เรียกว่า หัวใจล้มเหลว (heart failure)อะไรคือสาเหตุของโรคหัวใจโรคหัวใจมักเกิดได้จากหลายสาเหตุ ปัญหาจากการกินอาหารที่ไม่เหมาะสมก็เป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดโรคหัวใจได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจ ได้แก่- สภาพร่างกาย - สุนัข และแมวที่มีน้ำหนักเกินจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูง
- อายุ - ความถี่ของโรคหัวใจในสัตว์เลี้ยงมักเพิ่มขึ้นเมื่อสัตว์เลี้ยงมีอายุมากขึ้น
- สายพันธุ์ - ในสุนัขพันธุ์เล็ก เช่น พุดเดิ้ล มินิเอเจอร์ชเนาเซอร์ ชิวาวา ฟอกซ์เทอร์เรียร์ ค็อกเกอร์สเปเนียล บอสตันเทอร์เรียร์ และคาวาเลียร์ คิง ชาร์ลส์ สเปเนียล มักเป็นโรคของลิ้นหัวใจ แต่ในกรณีโรคของกล้ามเนื้อหัวใจ มักเกิดในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น เกรทเดน โดเบอร์แมนฟินเชอร์ อัฟกันฮาวนด์ เซนต์เบอร์นาร์ด สกอตทิซเดียร์ฮาวนด์ ไอริชวูล์ฟฮาวนด์ บ็อกเซอร์ นิวฟาวด์แลนด์ และดัลเมเชียน นอกจากนี้ยังพบในสุนัขพันธุ์เล็กเช่น อิงลิช และอเมริกันค็อกเกอร์สเปเนียล อิงลิชบูลด็อก




จะทราบได้อย่างไรว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจอาการของโรคหัวใจในสุนัขค่อนข้างผันแปร หรือไม่แน่นอน อาการของโรคหัวใจนั้นสามารถบ่งบอกได้ยาก เพราะมักคล้ายกับความผิดปกติของโรคอื่นๆ ซึ่งอาจจะพบได้ตั้งแต่ประเภทที่ไม่สามารถสังเกตอาการได้จนถึงสามารถสังเกตพบ อาการได้ แต่อาการจะมีความเด่นชัด หรือมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อการพัฒนาของโรคหัวใจมีมากขึ้น ถ้าหากคุณพบอาการเหล่านี้ในสุนัขของคุณนั่นอาจจะแสดงว่าสุนัขของคุณมีความ ผิดปกติของหัวใจ- อ่อนเพลียง่าย หรือขาดพลังงาน (lack of energy)
- หายใจลำบาก
- ไม่กินอาหาร และน้ำหนักตัวลดลง
- มีการไอบ่อยๆ
- อ่อนแอ เหนื่อยง่าย ออกกำลังกายได้น้อยลง
- เป็นลม หมดสติ (fainting)
- ท้องบวมขยายใหญ่ (abdominal swelling)เมื่อพบอาการดังกล่าวผู้ที่จะให้คำตอบที่ดีที่สุดว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจหรือ ไม่ คือ สัตวแพทย์ประจำตัวสุนัขของท่าน เมือนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ สัตวแพทย์อาจจะถามเจ้าของถึงอาการ หรือข้อมูลที่จำเพาะเกี่ยวกับสุนัขของท่าน (การซักประวัติสัตว์ป่วย) ก่อนที่จะทำการตรวจร่างกายสุนัข ถ้าสัตวแพทย์สงสัยว่ามีปัญหาทางสุขภาพ หรือโรคหัวใจอาจจะต้องมีการตรวจพิเศษเพื่อการวินิจฉัยโรคที่จำเพาะมากขึ้น เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอ๊กเรย์ ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) หรือตรวจวิธีการอื่นๆที่จำเป็น การนำสุนัขของท่านไปตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจร่างกาย เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้ตรวจพบปัญหาทางสุขภาพ หรือโรคหัวใจในระยะเริ่มต้นได้
     
โรคหัวใจของสุนัขสามารถรักษาได้หรือไม่โรคหัวใจของสุนัขสามารถรักษาได้ แม้ว่าไม่มีการรักษาแบบใดๆ ที่สามารถรักษาโรคหัวใจของสุนัขได้ทุกชนิด การรักษาด้วยวิธีการต่างๆ หรือสมัยใหม่สามารถทำได้ ความสำเร็จของการรักษาโรคหัวใจสุนัขขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ประการโดยสัตว์เลี้ยงที่ป่วยด้วยโรคหัวใจสามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยการให้ อาหารที่ถูกต้อง การออกกำลังกาย และการใช้ยา ด้วยการเลือกใช้อาหารที่ถูกต้องร่วมกับคำแนะนำจากสัตวแพทย์ แต่การตรวจพบ ปัญหาโรคหัวใจในระยะแรกๆ จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะจะเป็นการช่วยรักษาชีวิตสุนัขของท่านให้ยืนยาวต่อไปและมีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น
ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก สพ.ญ.อรญา ประพันธ์พจน์ คลินิคเฉพาะทางโรหัวใจ
ขอบคุณภาพประกอบจาก Photos.com
เนื้อหาโดย โรงพยาบาลสัตว์ตลิ่งชัน
106591569.jpg
cfe96d8d52097ae5ef789b82061ae9cb.jpg
h.jpg
loading...
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต


โทรศัพท์มือถือ|รายชื่อผู้ถูกระงับบัญชี|dogthailand.net

แนะนำที่พัก โรงแรม รีสอร์ท สัตว์เลี้ยงเข้าพักได้ ทั่วประเทศ

GMT+7, 2024-11-23 15:06 , Processed in 0.076430 second(s), 21 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้