ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ค้นหา

พยาธิเม็ดเลือด วิธีรักษาน้องหมาติดเชื้อพยาธิเม็ดเลือด ดูแลช่วงที่เป็นโรค

[คัดลอกลิงก์]
เสื้อหมา เสื้อแมว รถเข็นหมา รถเข็นแมว

พยาธิเม็ดเลือด โรงพยาบาลสัตว์ ม.เกษตร บางเขน
adf140d594a83712d417939739d630ce.jpg

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข ประกอบด้วย กลุ่มของโรคหลายชนิดที่เกิดจากเชื้อโปรโตซัวและริคเก็ตเซีย ที่มีความรุนแรงแตกต่างกัน แต่ที่มีลักษณะเหมือนกัน คือส่วนใหญ่นำโรคโดยเห็บ (tick) ซึ่งอาจจะจัดโรคพยาธิในเม็ดเลือดเป็นโรคที่นำโดยเห็บ (tick-borne diseases) โดยสาเหตุของโรคเกิดจากเชื้อปรสิตดังต่อไปนี้

1.โปรโตซัว Babesia canis และ B.gibsoni
2.โปรโตซัว Hepatozoon canis
3.ริคเก็ตเซีย Ehrlichia canis, E.chaffeensis และ Anaplasma phagocytophila
4.ริคเก็ตเซีย Haemobartonella canis
5.แบคทีเรีย Bartonella vinsonii
อาการของโรคพยาธิเม็ดเลือดของสุนัขที่เกิดจากเชื้อในแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันออกไปโดยพอสรุปอาการของโรคเกิดจากแต่ละเชื้อดังนี้
กลุ่มอาการของโรค Babesiosis (B.canis&B.gibsoni)
เชื้อ Babesia spp. จะอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง คล้ายกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคมาเลเรียในคนเมื่อเชื้อเพิ่มจำนวนจะทำให้เม็ด เลือดแดงของสัตว์ถูกทำลาย และมักพบอาการ ดังต่อไปนี้
1.โลหิตจาง (anemia) เยื่อเมือกจะซีด สังเกตได้จากเยื่อเมือกในข่องปาก
2.มีไข้สูง
3.สุนัขจะซึมมาก ไม่กินอาหาร ไม่ค่อยเคลื่อนไหว
4.ลูก สุนัขที่อายุต่ำกว่า 2 เดือน ที่อยู่กับแม่ที่เคยติดเชื้ออาจจะมีภูมิคุ้มกันจากแม่ป้องกันโรคได้ แต่เมื่ออายุมากขึ้นจะมีความว่องไวต่อการติดโรค สัตว์อายุน้อยที่ไม่มีภูมิคุ้มกันจะมีอัตราการตายสูง
5.ถ้าเป็นแบบ เรื้อรัง อาจพบอาการดีซ่าน เนื่องจากสภาพเม็ดเลือดถูกทำลายอย่างมากและตับได้รับความเสียหายตะสังเกตได้ จากเยื่อเมือกที่มีสีเหลือง หรือในลูกตาขวาจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
กลุ่มอาการของโรค Hepatozoonosis (H.canis)
d61d44254608dd06ccdd2ff02982d14d_L.jpg

เชื้อ Hepatozoon spp จะอาศัยอยู๋ในเม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophils ซึ่งจะมีผลทำให้ภูมิคุ้มกันของสัตว์ลดลงจากปกติ เนื่องจากเม็ดเลือดขาวดังกล่างจะถูกทำลาย และสูญเสียประสิทธิภาพในการป้องกันตัวเองจากเชื้อภายนอก อาการที่มักพบคือ
1.มีไข้เป็นข่วงๆและไม่ค่อยตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ
2.ผอมแห้ง น้ำหนักลดลงอย่างต่อเนื่อง ไม่ค่อยกินอาหาร
3.โลหิตจาง
4.ท่าเดิมหรือท่ายืนผิดปกติ หรืออาจพบอาการอัมพาตของขาหลัง
5.มีอาการเจ็บตามกล้ามเนื้อที่สัมผัส
6.กล้ามเนื้อฝ่อลีบตามมา
7.มักจะพบการติดเชื้ออื่นๆร่วมด้วย และอาจเป็นสาเหตุเริ่มต้นของโรคอื่นๆที่อาจพบภายหลัง
8.ใน สุนัขบางตัวอาจตรวจพบเขื้อ Hepatozoon canis โดยที่ยังไม่แสดงอาการใดๆออกมา เนื่องจากร่างกายยังมีการตอบสนองในระบบของภูมิคุ้มกันดีอยู่ เมื่อสัตว์เกิดสภาพเครียดหรืออ่อนแอขึ้นมาซึ่งจะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง จะทำให้สัตว์แสดงอาการของโรคออกมาได้

กลุ่มอาการของโรค Ehrlichiosis (Ehrlichia canis,E.chaffeensis และ Anaplasma phagocytophila)

เชื้อ Ehrlichia spp. จะอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดขาวชนิด monocytes, neutrophils, eosinophils และ lymphocytes ความรุ่นแรงของโรคจะใกล้เคียงกับโรค babesiosis เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากที่สุดในสุนัข อาการของโรคที่มักพบคือ
1.โลหิตจาง และมีเกล็ดเลือดต่ำ
2.มีไข้สูง
3.มีจุดเลือดออกตามเยื่อเมือก
4.ต่อมน้ำเหลืองบวม
5.ซึมไม่กินอาหาร น้ำหนักลด และติดเขื้อแทรกซ้อนอื่นๆได้ง่าย
6.โรคจะมีความรุนแรงในสัตว์อายุน้อย โดยทำให้อัตราการตายสูง ถ้าไม่ได้รับการรักษาหริอวินิจฉัยอย่างทันที

กลุ่มอาการของโรค Haemobartonellosis (Haemobatonella canis)

เชื้อ Haemobartonella spp. จะอาศัยอยู่บนผิวด้านนอกของเม็ดเลือดแดง และทำให้เม็ดเลิอดแดงมีลักษณะรูปร่างผิดปกติไป โดยทั่วๆไปจะมีความรุนแรงต่ำกว่าเชื้ออื่นๆในกลุ่มเดียวกัน อาการที่มักพบมีดังนี้
1.อาการโลหิตจาง มักพบร่วมกับการติดเชื้ออื่นๆหรือเกิดจากการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
2.สัตว์จะไม่แสดงอาการใดๆจนกว่าจะเกิดสภาพโลกิตจาง ซึ่งจะนำไปสู่อาการไข้ และซึม
3.สัตว์ที่มีสุขภาพแข็งแรง ภูมิคุ้มกันปกติจะควบคุมปริมาณของเชื้อไม่ให้มีการเพิ่มหรือแพร่กระจายไปได้
4.เขื้อนี้ถูกทำลายได้โดยยาปฏิชีวนะ จึงอาจจะถูกทำลายไปในขณะที่ติดเขื้ออื่นๆ

กลุ่มอาการชองโรค Bartonellosis (Bartonella vinsonii)

เชื้อ Bartonella spp. อาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง ความชุกของโรคนี้ในสุนัขค่อนข้างต่ำ อาการที่มักพบ มีดังนี้ 1.การอักเสบของลิ้นปิดเปิดหัวใจ
2.กินอาหารลดลง ซึม อาจมีอาการเจ็บขาสลับไปมา
3.อาจพบอาการเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ
4.อาการมีความหลากหลายตั้งแต่ความรุนแรงน้อยไปจนถึงรุนแรงมากขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายของเชื้อในอวัยวะ

การป้องกันและควบคุมโรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข

1.โรคส่วนใหญ่นำ โดยเห็บ ดังนั้นวิธ๊การป้องกันโรคที่ดีที่สุด

คือ การควบคุมจำนวนเห็บหมัดให้มีอยู่น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เห็บทุกระยะสามารถนำโรคได้ ดังนั้นการกำจัดเห็บหมัดต้องทำอย่างต่อเนื่องจนไม่พบระยะใดระยะหนึ่งเป็น เวลานานๆ(มากกว่า 2 เดือน) ซึ่งจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการติดโรดที่นำโดยเห็บทั้งหลายได้ แม้ว่าสุนัขภายในบ้านอาจจะปลดปลอดจากเห็บ แต่อย่าไว้วางใจในกรณีที่รอบๆบ้านมีสุนัขจรจัดมาอาศัยอยู่หน้าบ้าน ซึ่งอาจจะนำเห็บมาสู่สุนัขของเราได้

2.ตรวจสุขภาพสุนัขเป็นประจำทุกๆ 3-6เดือน

โดยต้องแจ้งสัตวแทพย์ให้เจาะเลือดตรวจพยาธิเม็ดเลือด ซึ่งถ้าสามารถตรวจพบได้แต่เนิ่นๆก็อาจจะช่วยลดความสูญเสียที่อาจจะเกิดจาก โรคได้

3.โรคพยาธิเม็ดเลือดบางโรค สามารถติดต่อสู่คนได้

ได้แก่โรค Ehrlichia โดยเกิดจากการกัดดูดเลือดของเห็บ ซึ่งอาจจะไม่รู้ตัว ถ้าปล่อยให้มีเห็บอยู่ในสภาพแวดล้อมจำนวนมากทำให้โอกาสที่เห็บสุนัขจะเลือก คนเป็นโฮสต์มากขึ้น และอาจนำโรคมาสู่คนได้ในที่สุด ดังนั้นการควบคุมจำนวนเห็บและการหมั่นตรวจสุขภาพสุนัขเป็นประจำง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดโรคของคนที่อยู่โดยรอบ

4.ไม่ควรให้ยาป้องกัน การติดโรคพยาธิเม็ดเลือด


เนื่องจากเขื้อแต่ละตัวจะใช้ยาที่แตกต่างกัน จึงไม่สมควรที่ใช้ยาเนื่องยามีผลข้างเคียงอื่นๆต่อตัวสัตว์ เข่น ความเป็นพิษและมีโอกาสทำให้เชื้อเกิดการดื้อยารวมทั้งเพิ่มค่าใช้จ่ายในการ ดูแลสัตว์โดยไม่จำเป็น การป้องกันที่ดีที่สุด คือการควบคุมจำนวนเห็บ และการหมั่นดูแลสุขภาพของสัตว์เป็นประจำ การรักษาเป็นส่วรที่ขึ้นอยู่กับสัตวแพทย์โดยตรง เจ้าของสุนัขไม่ควรซื้อยามากินหรือฉีดเอง เนื่องจากการรักษาโรคมีความซับซ้อนมากกว่าเป็นเพียงการใข้ยาให้ตรงกับโรค สุนัขบางตัวอาจจะต้องตรวจเลือด เพื่อดูการทำงานของตับไต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเป็นพิษต่ออวัยวะ ก่อนที่สัตวแพทย์ทำการดำเนินการรักษา เนื่องจากยาที่ใช้ในการรักษาโรคพยาธิเม็ดเลือดบางชนิด เช่น Babesia มีความเป็นพิษสูง สัตว์อาจแพ้ยาและมีอาการข้างเคียงอื่นๆตามมา การรักษาจึงต้องมีการให้ยาอื่นๆสนับสนุน เพื่อให้สัตว์มีการฟื้นตัวจากการติดเชื้อและปลอดภัยจากผลอันไม่พึงประสงค์ อื่นๆ นอกจากนี้การรักษาโรคพยาธิในเม็ดเลือดจะต้องมีความต่อเนื่อง คือ การติดตามผลการรักษา อาจจะต้องทำไปอีก 3 เดือน -  1 ปี เพื่อป้องกันการกลับมาแสดงอาการของโรคหรือเกิดการติดเชื้อซ้ำ

5.โรคพยาธิ เม็ดเลือดในสุนัขบางชนิด ไม่มียารักษาให้หายขาดได้


เช่น โรค Hepatozoon การดูแลสัตว์ที่ติดเขื้อดังกล่าว จึงเป็นการเพียงการรักษาตามอาการ และบำรุงให้สัตว์ฟื้นตัวได้เร็วที่สุด ซึ่งจะทำให้สัตว์มีชีวิตที่ยืนยาวได้ ส่วนใหญ่แล้วโรคพยาธิเม็ดเลือดเป็นโรคที่ที่อาจกล่าวได้ว่าไม่สามารถรักษา ให้หายขาดได้ เนื่องจากเชื้อสามารถซ่อนตัวอยู่ในตับ ม้าม หรือต่อมน้ำเหลือง ในร่างกายสัตว์ได้ โดยส่วนใหญ่ยาที่ใช้ในการรักษาจะออกฤทธิ์ต่อระยะของพยาธิเม็ดเลือดในกระแส เลือดเท่านั้นและไม่ค่อยมีผลต่อเชื้อในอวัยวะต่างๆ เมื่อสัตว์เคยเป็นโรคแล้วเจ้าของสัตง์ต้องเฝ้าระวังต่อไป ตราบเท่าที่ยังมีเห็บสุนัขอยู่ในสภาพแวดล้อม ซึ่งพร้อมที่จะนำโรคมายังสัตว์เลี้ยง การตรวจสุขภาพของสัตว์เลี้ยงเป็นประจำ เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการเผ้าระวังและช่วยให้เข้าของได้ทราบถึงภาวะของ สัตว์เลี้ยง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของผู้เลี้ยง เนื่องจากมีโรคบางชนิดสามารถติดต่อจากสัตว์มาสู่คนได้

โดย  รศ.น.สพ.ดร.สถาพร จิตตปาลพงศ์

โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข อาการ วิธีป้องกันและรักษา

b47534f967956d848c43e21a72dc6122.jpg

เมื่อน้องหมาเป็นโรคพยาธิเม็ดเลือด!
   
          เชื่อว่าในหมู่คนเลี้ยงน้องหมาคงเคยได้ยินเรื่องโรคพยาธิเม็ดเลือดมาพอสมควร พยาธิเม็ดเลือจัดเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ซึ่งในสุนัขมีทั้งหมด 3 ชนิด โดยแต่ละชนิดจะอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแตกต่างกันไป แต่วันนี้จะขอกล่าวถึงพยาธิเม็ดเลือดที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย ซึ่งนั่นคือ ชนิด Ehrlichia canis หรือเรียกกันย่อๆ ว่า E. Canis พยาธิเม็ดเลือดชนิดนี้พบได้ในสุนัขทุกเพศ ทุกพันธุ์ ทุกอายุ โดยมีพาหะนำโรคคือ เห็บ นั่นเอง

          ทั้งนี้ หลายท่านก็แอบสงสัยว่าน้องหมาของตัวเองไม่มีเห็บเลย แต่ทำไมถึงเป็นโรคนี้ได้ อาจเพราะมีจำนวนไม่มากพอ เราจึงไม่เห็นมากกว่า หรืออาจจะเป็นช่วงที่เห็บลงจากตัวน้องหมาไปลอกคราบ หรือลงไปวางไข่พอดี ทำหให้เราไม่เจอเห็บบนตัวสุนัขก็เป็นได้ และการเป็นโรคพยาธิในเม็ดเลือดนั้น ไม่จำเป็นต้องมีเห็บเยอะหรือหลายๆ ตัว แม้มีแค่ตัวเดียว แต่ถ้าตัวที่มีกัดมีพยาธิเม็ดเลือดอยู่ ก็สามารถเป็นโรคได้แล้ว

          เมื่อเห็บดูดเลือดจากสุนัขที่มีเชื้อ E. Canis เข้าไป เชื้อจะเข้ามาอยู่ในตัวเห็บ จากนั้นถูกปล่อยออกไปกับน้ำลายของเห็บขณะที่กินเลือดสุนัขอีกตัว เมื่อเข้าร่างกายสุนัขแล้ว พยาธิจะอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์ และลิมโฟไซต์ และมีระยะฟักตัว 8-20 วัน ก่อนจะปรากฎอาการ

อาการ

          สำหรับอาการที่พบทั่วไปมี 2 ระยะ คือ แบบเฉียบพลัน (1-4 สัปดาห์) สุนัขจะมีไข้ขึ้นๆ ลงๆ ซึม เบื่ออาหาร ต่อมน้ำเหลืองโต ม้ามโต บางตัวพบว่าเลือดกำเดาไหลข้างเดียว จุดเลือดออกตามตัว จากนั้นสุนัขที่มีภูมิคุ้มกันดีจะสามารถพัฒนาภูมิคุ้มกันมาทำลายเชื้อได้

          แต่ถ้าภูมิคุ้มกันไม่ดีพอ เชื้อพยาธิเม็ดเลือดจะพัฒนาเข้าสู่อาการในแบบเรื้อรัง (40-120 วัน) ซึ่งจะมีอาการตั้งแต่ ซึม อ่อนแรง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เยื่อเมือกซีด มีไข้สูง เลือดกำเดาไหลมาก ปัสสาวะเป็นเลือด หายใจลำบาก จนถึงไขกระดูกทำงานบกพร่อง ภูมิคุ้มกันทำลายกันเอง ทำให้โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดต่ำ ไตวาย ตับอักเสบ ข้ออักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และนำไปสู่การเสียชีวิตได้

การรักษาและวิธีการป้องกัน

          วิธีการรักษาส่วนใหญ่คือ การให้ยาฆ่าพยาธิเม็ดเลือดและการรักษาตามอาการ โดยจะต้องรักษาต่อเนื่อง อย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ ร่วมกับตรงจเลือดเพื่อประเมิณค่าเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดเป็นระยะ และต้องติดตามผลต่ออีก 6 เดือน ถึง 1 ปี

          การป้องกันพยาธิเม็ดเลือดนั้นจะต้องอาศัยการเอาใจใส่ดูแลจากเจ้าของ โดยการป้องกันการติดเห็บ ปัจจุบันมีหลายวิธีและหลายผลิตภัณฑ์มาให้เลือกตามความเหมาะสม เช่น ตามลักษณะพื้นที่อยู่อาศัยและลักษณะการเลี้ยง เป็นต้น นอกจากนี้ควรตรวจเลือดน้องหมาอย่างน้อยปีละครั้งด้วยค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
(โลกสัตว์เลี้ยง)
loading...
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต


โทรศัพท์มือถือ|รายชื่อผู้ถูกระงับบัญชี|dogthailand.net

แนะนำที่พัก โรงแรม รีสอร์ท สัตว์เลี้ยงเข้าพักได้ ทั่วประเทศ

GMT+7, 2024-12-22 09:53 , Processed in 0.077491 second(s), 21 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้