ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ค้นหา

ผลของความปวดที่ไม่ธรรมดา สัตว์ป่วยบางกลุ่มมีอาการทรุดหนักลงจน ถึงแก่ชีวิตได้ ควรรู้

[คัดลอกลิงก์]
เสื้อหมา เสื้อแมว รถเข็นหมา รถเข็นแมว


ความปวดก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากมาย ผลเสียบางประการอาจเป็นปัจจัยเสริมให้สัตว์ป่วยบางกลุ่มมีอาการทรุดหนักลงจน  ถึงแก่ชีวิตได้ ยกตัวอย่างเช่น

83c2446a0896df0a1f4af01c940ae1d9_L.jpg

1. ผลต่อหัวใจและการไหลเวียนโลหิต

ทันทีที่เกิดความปวดระบบประสาทอัตโนมัติ sympathetic จะถูกกระตุ้นให้หลั่งสาร epinephrine และnorepinephrine ทำให้เส้นเลือดส่วนปลายหดตัวและมีแรงต้านเพิ่มขึ้น อัตราการเต้นของหัว-ใจเร็วขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น  ผลที่สุดหัวใจต้องทำงานมากขึ้นและกล้ามเนื้อหัวใจต้องการใช้ออกซิเจนมากขึ้น  เป็นการเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

2. ผลต่อการหายใจ

34590fcc4f21b57bc8ef6dc36c84a52e.jpg

แผลผ่าตัดบริเวณทรวงอกและช่องท้องส่วนบนจะก่อให้เกิดความปวดที่รุนแรง  เนื่องจากเป็นส่วนที่มีการขยับเคลื่อนไหวจากการหายใจอยู่ตลอดเวลา  สัตว์ป่วยจะมีลักษณะการหายใจที่เปลี่ยนไปเพราะความปวด กล่าวคือ  จะหายใจตื้น (small tidal volume) แต่หายใจเร็ว  ไม่สามารถหายใจลึกๆและไอได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการคั่งค้างของเสมหะ  เป็นผลให้มีการแฟบของปอด (atelectesis) ปอดอักเสบ  และระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ (hypoxemia) ตามมา

3. ผลต่อเมตาโบลิซึม

มีการเพิ่มขึ้นของ catabolic hormones เช่น  corticosteroids, growth hormone, glucagon และมีการลดลงของ anabolic  hormones เช่น insulin สัตว์ป่วยจะมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและเกิด negative  nitrogen balance ก่อให้เกิดผลเสียตามมาหลายประการ ได้แก่  จะมีอาการอ่อนเพลีย กล้ามเนื้อลีบเล็กลงขาดความแข็งแรง แผลหายช้า  และภูมิคุ้มกันโรคไม่ดี นอกจากนี้ยังมีการหลั่ง vasopressin และ antidiuretic  hormone ที่ผิดปกติ เป็นผลให้มีการคั่งของน้ำและโซเดียมได้

ดังนั้นการระงับความปวดอย่างมีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญ ซึ่งปัจจุบันรพส.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หน่วยวิสัญญีวิทยาได้ตระหนักถึงภาวะต่างๆที่ส่งผลต่อสัตว์โดยเฉพาะความผิดปกติของระบบไหลเวียนโลหิต ที่อาจส่งผลถึงชีวิตทั้งระหว่างและหลังผ่าตัดและยังตระหนักถึงคุณภาพชีวิตของสัตว์ป่วยหลังผ่าตัดที่จะส่งผลถึงการฟื้นฟูทางกายภาพหรือการหายของแผลด้วย

โดยพบว่าความปวดเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งให้เกิดผลเสียเหล่านั้น

3da22722d3e9ba892eb9be6476b11d0f.jpg

ดังนั้นจึงมีการนำแบบแผนการควบคุมความเจ็บปวดมาใช้เพิ่มเติมโดยแต่ละวิธีและแต่ละตัวยาที่ใช้ยังมีข้อดีข้อเสียและข้อจำกัดแตกต่างกันไปจึงยังไม่มีแบบแผนใดดีที่สุดหรือตายตัว
ขึ้นอยู่กับสภาวะหรือสภาพของตัวสัตว์ที่เข้ารับการผ่าตัดด้วยคะ

โดย สพญ.ณปรางค์
หน่วยวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลสัตว์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
kah.kasetanimalhospital.com/index.php/home/disease-knowledge/item/60-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B2
loading...
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต


โทรศัพท์มือถือ|รายชื่อผู้ถูกระงับบัญชี|dogthailand.net

แนะนำที่พัก โรงแรม รีสอร์ท สัตว์เลี้ยงเข้าพักได้ ทั่วประเทศ

GMT+7, 2024-9-8 10:19 , Processed in 0.073138 second(s), 21 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้