ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ค้นหา

การทำแผล ให้น้องหมา แผลเลือดออก แผลเรื้อรังมีหนอง แผลไหม้ในสุนัข ไม่ให้มีการติดเชื้อ

[คัดลอกลิงก์]
เสื้อหมา เสื้อแมว รถเข็นหมา รถเข็นแมว

สุนัขเป็นแผล บาดเจ็บ การรักษาปฐมพยาบาลให้ถูกวิธี  ทำแผลเบื้องต้น ทำอย่างไรให้ถูกต้อง ทำให้ไม่ติดเชื้อ เราควรอ่านและศึกษาก่อน จะทำความสะอาดให้น้องหมา ที่เป็นแผล

Красочные-эластичный-Pet-бинты-ветеринар-не.jpg

    ในสุนัขบริเวณที่บาดเจ็บเป็นแผลมักจะเป็นแผลสกปรกและมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย จึงต้องมีการระมัดระวังเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้มีการติดเชื้อ ดังนั้นก่อนที่จะทำแผลจึงควรล้างมือและเครื่องมือที่จะใช้ทำแผลให้สะอาดเสียก่อน

หลักการในการทำแผลสุนัขมีดังนี้คือ

1.    ถ้าเลือดออกให้ทำการห้ามเลือดก่อน                                                            
2.    ตัดขนรอบแผลเพื่อให้เห็นแผลได้ชัดและทำให้บริเวณสะอาดขึ้นด้วย
3.    ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดเพื่อชะล้างเศษสิ่งสกปรกออกไป แล้วเช็ดให้แห้ง
4.    ขัดถูแผลให้มีเลือดออกเล็กน้อยด้วยผ้าก๊อซชุบทิงเจอร์ไอโอดินเจือจาง
5.    ใส่ยาเช่น ทิงเจอร์ไอโอดิน ยาแดง และขี้ผึ้งที่มียาปฏิชีวนะอยู่ด้วย
6.    ปิดแผลด้วยผ้ากอซ หรือพันแผล
7.    ใส่ปลอกคอกันเลีย เพื่อป้องกันกัดผ้าก๊อซและเลียแผล


ในกรณีที่เป็นแผลเรื้อรังมีหนองและสะเก็ดอยู่ด้วย ต้องทำความสะอาดก่อนด้วยสารละลาย ไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ความเข้มข้น 3% หรือสบู่ที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อ จากนั้นเช็ดให้แห้ง ขัดถูแผล แล้วจึงใส่ยาและปิดแผลหรือพันแผล                                               

bandaj-dog-big.jpg


แผลไหม้

        แผลไหม้ในสุนัขมักจะเกิดจากความร้อน สารเคมี ไฟฟ้าดูด และรังสี แผลไหม้จากแสงแดดเป็นตัวอย่างหนึ่งของแผลไหม้ที่เกิดจากรังสี มักจะเกิดที่จมูกของสุนัขที่มีเม็ดสีไม่เพียงพอ และสุนัขที่มีขนสีขาว

       การเป็นแผลจะขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความรุนแรงของสาเหตุ ถ้าเกิดแผลไหม้แบบตื้นๆจะพบว่าผิวหนังมีสีแดง บางครั้งจะมีเม็ดตุ่มและบวมขึ้นเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นแผลไหม้แบบลึก ผิวหนังจะเป็นสีขาว และขนจะหลุดง่ายถ้าดึง และเจ็บปวดมาก ถ้าครึ่งหนึ่งของร่างกายเกิดเป็นแผลไหม้ จะทำให้มองดูน่ารังเกียจ และอาจจะทำให้สุนัขช็อกได้ถ้ามีน้ำหนองและเลือดไหลออกมามาก

ทำการปฐมพยาบาลโดยปฏิบัติดังนี้

1.    ตัดขน ล้างบริเวณที่เกิดแผลไหม้ให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง
2.    ถ้าสุนัขแสดงอาการเจ็บปวดบริเวณที่เกิดแผลไหม้ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือกระเป๋าน้ำแข็งโปะเพื่อลดความเจ็บปวด
3.    ทาด้วยขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ แล้วปิดด้วยผ้าก๊อซ
4.    ในกรณีที่เกิดแผลไหม้เนื่องจากสารเคมี ให้ฉีดล้างด้วยน้ำปริมาณมาก ถ้าเกิดจากกรด ให้ล้างซ้ำด้วยเบกกิ้ง โซดา (หรือชื่อทางเคมีว่า โซเดียม ไบคาร์บอเนต)  (ขนาด 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1/2 ลิตร) เพื่อทำลายฤทธิ์ของกรด แต่ถ้าเกิดจากด่าง ให้ล้างซ้ำด้วยน้ำส้มสายชูเจือจาง (ขนาด 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1/2 ลิตร) เช็ดให้แห้ง และทาด้วยขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะ แล้วจึงพันหลวม ๆ



โดย รศ.น.สพ.ดร.กมลชัย ตรงวานิชนาม
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
loading...
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต


โทรศัพท์มือถือ|รายชื่อผู้ถูกระงับบัญชี|dogthailand.net

แนะนำที่พัก โรงแรม รีสอร์ท สัตว์เลี้ยงเข้าพักได้ ทั่วประเทศ

GMT+7, 2024-9-8 10:20 , Processed in 0.065345 second(s), 21 queries .

Powered by Discuz! X3.5, Rev.8

© 2001-2024 Discuz! Team.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้