สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังในสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์รักษาโรคผิวหนังสุนัขแมว ใช้ได้ผล หาซื้อได้ที่ไหน
คลินิกสมุนไพรรักษาโรคผิวหนังในสัตว์เลี้ยง ใช้งานได้จริง ได้ผล รักษาโรคผิวหนังน้องหมา หายสนิทเลย ทั้งโรคผิวหนังเกิดจากยีสต์ โรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรา โรคเรื้อนสุนัข วันนี้มาแนะนำ อยู่ที่ โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
เพ็ทช็อป ของ รพส. เกษตร เบอร์โทร 02 942-8755-59 ต่อ 2161 ในเวลา
จันทร์ - พฤหัสฯ 08.30 - 16.30 น. และ 18.00 - 20.00 น.
ศุกร์ - อาทิตย์ 08.30 - 13.00 น. และ 08.00 - 20.00 น.
เฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/kupetshop
สมุนไพร เป็นสิ่งที่อยู่คู่คนไทยมาแต่โบราณ ทุกคนยอมรับว่าสมุนไพรไทย เป็นสิ่งที่มีคุณค่า ใช้ได้ประโยชน์จริง ทั้งในคนและสัตว์ แต่ด้วยว่าเรารักษาผ่านการแพทย์แผนใหม่มานาน จนวิชาแพทย์แผนโบราณที่ใช้สมุนไพรเป็นหลักถูกลืม
ปัญหาโรคผิวหนังสัตว์ ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์เศรษฐกิจ เป็นปัญหามาโดยตลอด เนื่องจากสามารถติดต่อกันได้จากการสัมผัส ทำให้สัตว์มีอาการคัน เกา เลีย แทะ ไม่มีเวลาพักผ่อน ผิวหนังอักเสบเป็นแผล เจ้าของสัตว์ต้องเสียเวลาพาไปหาหมอ เสียค่าใช้จ่าย เสียเวลาดูแลรักษาทั้งป้อนยา ทายา รวมแล้วก่อให้เกิดการสูญเสียมูลค่ามหาศาล เสียดุลการค้านำเข้ายารักษาโรคผิวหนังมหาศาลเช่นกัน
คณะผู้วิจัย นำโดย รศ.น.สพ.ดร.ณรงค์ จึงสมานญาติ สังกัดคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงเริ่มศึกษาวิจัยสมุนไพร เพื่อใช้แก้ปัญหาพยาธิภายนอกของสัตว์ และโรคผิวหนัง เพื่อเป็นการพึ่งพาตนเอง ลดการนำเข้าสารเคมีฆ่าแมลงและยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และได้นำเสนอผลงานวิจัยมาแล้วหลายสิบฉบับ เพื่อแก้ปัญหาเห็บ หมัด และโรคผิวหนังในสัตว์เลี้ยง สุนัข และแมว และริเริ่มเปิดเป็นคลินิกสมุนไพรให้บริการเป็นแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548
เมล็ดน้อยหน่า ทองพันชั่ง ตะไคร้ และ มังคุด ถูกสกัดออกมาด้วยกระบวนการทางเคมี จากผลงานวิจัยมากกว่า 15 เรื่อง ตลอดระยะเวลา 17 ปี พบว่า สารสกัดธรรมชาติดังกล่าว มีฤทธิ์ในการกำจัดพยาธิภายนอกได้เป็นอย่างดี สารสกัดธรรมชาติจากเม็ดน้อยหน่า ตะไคร้ ทองพันชั่ง และมังคุด ได้ถูกนำมาเป็นส่วนผสมสำคัญ ทำการทดสอบครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อตรวจสอบความคงทนอยู่ของสาร แม้จะพบว่าความคงทนอยู่ของสารสกัดสมุนไพรไม่ยาวนาน เท่าสารสกัดจากสารสังเคราะห์ก็ตาม แต่มีผลทำให้โอกาสการดื้อยาของพยาธิภายนอกเป็นไปได้น้อยมาก และลดระดับการตกค้างเป็นอันตรายต่อมนุษย์อีกด้วย
จากผลงานสารสกัดจากสมุนไพรดังกล่าว ได้ถูกนำมาต่อยอดเชิงพาณิชย์เป็นผลิตภัณฑ์หลายรูปแบบ เช่น
1. ผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บ หมัด เหา (KU Exto spray, KU Exto shampoo, TIC)
2. ผลิตภัณฑ์รักษาโรคผิวหนังสุนัขแมว (KU Natural Miticide, เคยูโลชั่นตะไคร้หอม, เคยูโลชั่นทองพันชั่ง, DemodexScrub, MalasScrub, Hypo allergic shampoo น้ำมันผิวส้ม, Hypo allergic shampoo น้ำมันผิวมะกรูด, KU cream, KU Healer หรือ เคยูครีมเรียกเนื้อ)
ประโยชน์ที่เห็นเด่นชัดของการใช้สมุนไพรรักษาโรคผิวหนังในสัตว์เลี้ยง คือ การประหยัดงบประมาณในการนำเข้าสารสังเคราะห์จากต่างประเทศ เกี่ยวกับปัญหาการดื้อยา สนับสนุนยาสมุนไพรไทย สร้างคุณค่าเพิ่ม และผลิตเป็นสินค้าได้ หากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง อาจผลิตเป็นสินค้าส่งออกได้ในอนาคต
ที่มา : คณะสัตวแพทยศาสตร์ มก., 10 ก.ย. 57 |